รายการปรับปรุง (up date )

ก่อนหน้านี้มีรายการบางรายการปรับปรุง แต่ยังไม่ได้แจ้ง กรุณาอ่านซ้ำอีกครั้งครับ

วันที่ 13/ 5/ 59..
. บทความ เครื่องพิมพ์กราเวียร์ 
  -วิธีการดูลักษณะงานพิมพ์ล่าง- พิมพ์บน
  - ตอบปัญหางานพิมพฺ์
  บทความ Extrusion
 - เพิ่ม vdo เครื่อง Extrusion

วันที่ 16/ 5/ 59... 
บทความ เครื่องพิมพ์กราเวียร์ 
- รูปลักษณะเครื่องพิมพ์ ระบบใช้เพลา(main motor)
และระบบไม่มีเพลา(sectional drive)

วันที่ 19/ 5/ 59...
 บทความ เครื่องพิมพ์กราเวียร์ 
 - รูปเครื่องพิมพ์กราเวียร์ สำหรับพิมพ์กระดาษ
และอลูมิเนียม (เครื่องจะมีความหนา รับน้ำหนัก
วัตถุดิบและรับแรงดึง(tension)ได้มากกว่า

วันที่ 20/ 5/ 59...
เพิ่มบทความ ขั้นตอนการทำงาน

วันที่ 28/5/59..
เพิ่มบทความกระสอบสานเคลือบกราเวียร์

วันที่ 30/5/59..
เพิ่มข้อความ การทดลองหาค่าเปอร์เซ็นต์สี
 ( finger print )
ในบทความ เครื่องพิมพ์กราเวียร์

กระสอบสานเคลือบกราเวียร์

งานกระสอบสานเคลือบกราเวียร์

กระสอบสานแบบเดิมคือการทอจากเส้นพลาสติก
ชนิดพีพี.นำมาพิมพ์ระบบเฟล็กโซ่ ที่มีข้อจำกัดเรื่อง
รูปแบบการพิมพ์ แบบลายเส้นแยกออกเป็นแต่ละสี
ไม่ทับซ้อนกันส่วนใหญ่จะพิมพ์ข้อความหรือเป็นรูป
เขียนเส้นเดียว เป็นรูปที่ไม่มีมิติ ไม่ใช่รูปเสมือนจริง
เช่น รูปคน,ผลไม้,สัตว์,เมล็ดพืช,ดอกไม้,อาหาร
 *** ซึ่งการพิมพ์จะพิมพ์บนกระสอบสานโดยตรง
(พิมพ์บน) อาจจะเคลือบวานิช เพื่อให้มีความเงางาม
และป้องกันสีหลุดลอก ด้วยเนื่องจากกระสอบมีรูพรุน
จากรอยการสานขึ้นรูปทำให้ อากาศ,สิ่งสกปรก,น้ำ
สามารถเข้าถึงสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในได้ จึงต้องมี
ถุงพลาสติก (ไฮเดน) อยู่ในชั้นในเพื่อป้องกันอีกชั้น
หนึ่งด้วย
*** แต่มีข้อดีคือความแข็งแรง รองรับน้ำหนักสินค้า
ได้น้ำหนักมาก (25 กก. 50กก.).....
*** การพิมพ์ระบบกราเวียร์จึงมีการเริ่มนำมาผลิต
เพื่อเติมเต็มข้อจำกัดของงานกระสอบสานแบบเดิม
เพื่อความสวยงาม พิมพ์ภาพเหมือนจริงได้สวยงาม,
ป้องกันสิ่งสกปรก,น้ำ สัมผัสกับสินค้าที่อยู่ภายในได้. 
*** ขั้นตอนการผลิตงานกระสอบสานเคลือบกราเวียร์
ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงการทอกระสอบสาน จะกล่าวถึง
การพิมพ์กราเวียร์และการเคลือบลงบน
กระสอบสาน
***การพิมพ์กราเวียร์ คือการนำฟิล์ม OPP,CPP,PET
นำมาพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพฺ์กราเวียร์ (อยู่ในบทความ
การพิมพ์กราเวียร์ ) แล้วนำมาเคลือบด้วย เครื่อง
EXTRUSION ลาดด้วยพลาสติกที่หลอมโดยตรง
และอีกวิธีโดยการ ใช้เครื่อง DRY LAMINATE
(ในบทความเครื่อง dry laminate )แล้วนำไปขึ้นรูป
ตามแบบที่ต้องการ เครื่องจักรที่ใช้ในส่วนเครื่องพิมพ์
กราเวียร์จะปกติเหมือนพิมพ์ฟิล์มทั่วๆไป...

*** มีข้อควรสังเกตุ..เครื่องจักรไม่ควรที่จะซื้อเครื่อง
จักรที่มีความเร็วสูง200-300 เมตรต่อนาที ขอแนะนำ
ใช้เครื่องระบบเพลาราว servo motorไม่แนะนำระบบ
sectionol drive เพราะว่ามีราคาสูงเกินความจำเป็น 
( ดูในบทความการพิมพ์กราเวียร์)เพราะงานกระสอบ
สานจะมีขนาดเส้นรอบวงของแม่พิมพ์ใหญ่ตามขนาด
ความยาวของกระสอบที่บรรจุ การที่แม่พิมพ์มีขนาด
เส้นรอบวงใหญ่จะใช้ความเร็วสูงจะพบปัญหาคือ...
- สีที่ภาพพิมพ์จะแห้งเป็นบางช่วงเนื่องจากการถ่าย
เทสีจากแม่พิมพ์ส่งไปที่ผิวฟิล์มไม่ทันกับความเร็ว
เครื่องจักร
- สีจะเยิ้มแฉะเป็นส่วนเกินออกมานอกภาพเพราะใบมีด
ปาดสีปาดสีไม่หมด
- สีจะแห้งเป็นจุดๆสีขาวที่ภาพพิมพ์เพราะใบมีดปาด
สีที่รอบแม่พิมพ์ใหญ่จะปาดให้หมดยากต้องปรับเครื่อง
จักรตั้งแต่การออกแบบเครื่อง
- สีจะกระเด็นเพราะความเร็วสูงแม่พิมพ์ใหญ่แรงเหวี่ยง
ของแม่พิมพ์จะสูง จะพาสีหมุนด้วยความเร็วจะกระเด็น
(แม่พิมพ์เล็กจะกระเด็นน้อยกว่า)....
- การปั็มสีขึ้นจากถังสีขึ้นบนถาดสีไม่ทันกับความต้อง
การของการพิมพ์ด้วยความเร็วสูงจะทำให้สีไหลหมุน
เวียนในถาดสีไม่เสม่ำเสมอ,ทำให้เฉดสีทั้งสองด้าน
งานพิม์ไม่เท่ากัน,ทำให้สีไม่เหมือนตัวอย่างหรืออาจ
พิมพ์ออกมาทุกม้วนเฉดสีจะไม่เท่ากันทุกม้วน......
(ในส่วนรายละเอียดการพิมพ์ระบบกราเวียร์อยู่ในบท
ความการพิมพ์ระบบกราเวียร์)

  เครื่อง EXTRUSION และ DRY LAMINATE 
คือการนำฟิล์มที่พิมพ์กราเวียร์มาเคลือบกับกระสอบสาน
ข้อควรระวังคือเครื่องจักรต้องรองรับม้วนกระสอบสานที่
มีขนาดผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ ควรมีชุดปล่อยม้วน
(unwinder)และตัวเก็บม้วน (rewind)ต้องมีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ด้วย....

 ชนิดฟิล์มที่ใช้พิมพ์กราเวียร์พื่อใช้เคลือบ
กระสอบสาน
### OPP.เป็นฟิล์มที่ผลิตจากพลาสติกชนิด พีพี
.(ตัวโอนำหน้าคือการบอกกรรมวิธีการผลิตการ
ดึงขยายฟิล์มแตกต่างกับ กรรมวิธีการทำ cpp.
ที่เป็นพลาสติกชนิด พีพีเหมือนกันแต่มีตัว ซี. 
นำหน้าจะขอขยายความในครั้งต่อไป)OPP.
มีความแข็งของเนื้อฟิล์ม
 - การพิมพ์จะไม่ทำให้ขนาดภาพ ยืด-หด มากนักใน
การทำแม่พิมพ์ไม่ต้องเผื่อขนาดรอบของแม่พิมพ์
 เพื่อชดเชยการ ยืด- หดของขนาดภาพ
- การเคลือบกับกระสอบสาน จะเคลือบด้วย
วิธีextrusionหรือ dry laminate สามารถทำ
ได้เพราะ extrusionใช้เม็ดพลาสติก พีพี.
ที่เป็นพลาสติกชนิดเดียวกันกับฟิล์มและ
กระสอบสาน (opp/pp/pp)และการ dry laminate
เลือกใช้กาวชนิดเคลือบติดพลาสติกชนิด พีพี.
ได้ดี......
### CPP (อธิบายเช่นเดียวกับ opp )
 - การพิมพ์จะมีการ ยืด-หด ของภาพมากในการทำ
แม่พิมพ์ต้องเผื่อขนาดรอบของแม่พิมพ์ เพื่อชดเชย
การ ยืด-หด ของภาพมาก ต้องทดลองพิมพ์เปล่าๆ
ด้วยแม่พิมพ์ขนาดใกล้เคียงกับรอบแม่พิมพ์ที่จะใช้
งานจริง แล้วหาขนาดที่ภาพพิมพ์มีความยืด-หด จริง
.การใช้วิธีการคำนวณ มีควารมผิดพลาดสูงเพราะฟิล์ม
ที่ผลิตมาจะมีสูตรการผลิตเนื้อฟิล์มที่แตกต่างกัน 
อัตราการ ยืด- หด ของฟิล์มไม่เท่ากัน ถ้าไม่ทดลอง
หาค่าก่อนทำแม่พิมพ์จริง เมื่อทำแม่พิมพ์มาแล้ว
พิมพ์งานจริงอาจจะมีขนาดภาพสั้นหรือยาวกว่าสเปค
ของลูกค้า อาจจะต้องทำแม่พิมพ์ใหม่ซึ่งมีราคาที่สูง
เพราะแม่พิมพ์รอบใหญ่.....
หมายเหตุ การพิมพ์ฟิล์ม พีอี.ควรทำการทดลอง
เช่นดียวกันกับการทดลองหาค่าของหิล์ม cpp
- การเคลือบกับกระสอบสาน จะเคลือบด้วยวิธี
extrusion หรือ dry laminate สามารถทำได้เพราะ
 extrusion .ใช้เม็ดพลาสติก พีพี.ที่เป็นพลาสติก
ชนิดเดียวกันกับฟิล์มและกระสอบสาน
 (opp/pp/pp)และการ dry laminate .เลือกใช้
กาวชนิดเคลือบติดพลาสติกชนิด พีพี.ได้ดี....
### PET (โพลี่เอสเตอร์ ) เป็นพลาสติกต่างชนิด
กับ พีพี. มีความแข็งสูง การพิมพ์จะไม่มีการยืด-หด
 ของภาพ มีความเงา มีความใส เพราะมีความหนา
12ไมคร่อนบางกว่า opp และ cppที่มีความบางสุด
20ไมคร่อน..(หรืออาจจะสเปคพิเศษที่มีความหนา
เพิ่มขึ้น )....
- การพิมพ์ด้วย PET เคลือบกับกระสอบสาน จะ
เคลือบด้วยวิธีextrusion ไม่ได้เพราะเป็นพลาสติก
ต่างชนิดกันต้อง จะหลอมละลายติดกันไม่ได้ 
( pet/pp/pp)ทำไม่ได้เพราะextrusion เป็นวิธีการ
หลอมเม็ดพลาสติกออกมาลาดทับโดยตรงชั้นกลาง
ระหว่างฟิล์มกับกระสอบสานใช้เม็ดพลาสติก พีพี.ที่
เป็นพลาสติกต่างชนิดกันกับฟิล์ม(pet)และกระสอบ
สาน(pp)แต่การ dry laminate สามารถทำได้โดย
เลือกใช้กาวชนิดเคลือบติดพลาสติกชนิด พีอีทีกับพีพี
.ได้ดี..........
### ไนล่อน ไม่นิยมทั้งๆที่มีความเหนียวมาก
เพราะมีราคาสูงกว่าฟิล์มทั้งสามชนิดที่กล่าวมา
และการเคลือบด้วยกระสอบสานมีความแข็งแรง
มากอยู่แล้ว แต่จะนำไนล่อนไปใช้กับงานที่ไม่
เคลือบกระสอบสานส่วนใหญ่ใช้กับงานบรรจุ
ขนาด 2 กก.,5 กก., 15 กก.หรือใช้กับ
งานสูญญากาศ.......

              เครื่องจักรที่เหมาะสม


            เครื่องจักรที่ไม่เหมาะสม


จำนวนสีในรูป 10 สี เป็นตัวอย่าง จำนวนสีอยู่ที่
รูปแบบงานว่าแบบงานมีจำนวนสีจำนวนเท่าไร




(ครั้งหน้าจะเพิ่มเติมเรื่องการใช้ชนิดสีสำหรับ
งานพิมพ์เพื่อ extrusion และ dry laminate)


www,gravurecon.com







ขั้นตอนการทำงาน


 ขั้นตอนการทำงาน(worlkflow)

     ฝ่ายขาย(หรือประสานงานฝ่ายขาย)
-รับแบบงานจากลูกค้า
-รับทราบสเปคจากลูกค้า
-รับทราบความต้องการของลูกค้า
-ส่งข้อมูลให้วางแผน
-ส่งรายละเอียดให้บัญชีคิดต้นทุน
      วางแผน
-วางแผนให้ทุกส่วนงาน ..โรงงาน ,ฝ่ายขาย ,
จัดซื้อ,สโตร์วัตถุดิบ,สโตร์สินค้าสำเร็จรูป,ผลิต,
 RD,QC,จัดส่ง,
-ในส่วนของผลิต วางแผนการผลิตทุกแผนก
พิมพ์,ดรายลามิเนท,สลิทหรือทำซอง ถึงสโตร์
สินค้าสำเร็จรูป
-วางแผนการจัดส่งจนกระทั่งสินค้าถึงลูกค้า
      จัดซื้อ
-จัดซื้อวัตถุดิบตามที่ฝ่ายวางแผนเปิดการสั่งซื้อ
-แจ้งกำหนดการเข้าของวัตถุดิบให้ฝ่ายวางแผน
,สโตร์วัตถุดิบ
      โรงงาน
-รับแผนการผลิต และตรวจสอบแผนการผลิต
-นำแบบงานของลูกค้าส่งส่วนออกแบบหรือส่ง
ให้ร้านทำแม่พิมพ์(ในกรณีไม่ได้ทำแม่พิมพ์เอง)
-นำแบบงานมาแยกสี
-แยกจำนวนแม่พิมพ์
-ทำแบบงานบนกระดาษส่งให้ลูกค้าตรวจสอบ
-ส่งให้ลูกค้าตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อความ
และการทำเฉดสีที่ตัวอย่างครา่วๆ
-ลูกค้าตรวจสอบถูกต้องเรียบร้อย ส่งให้ส่วนทำ
แม่พิมพ์หรือร้านทำแม่พิมพ์(ในกรณีไม่ได้ทำแม่
พิมพ์เอง)เพื่อทำการผลิตแม่พิมพ์ให้เครื่องพิมพ์
กราเวียร์
-ส่วนพิมพ์กราเวียร์ทำการปรู๊ปพิมพ์ตัวอย่างบน
ฟิล์มจริงให้ลูกค้าตรวจสอบ
-ลูกค้าตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ยอมรับได้
สามารถผลิตได้ตามแผนการผลิต
-ลูกค้าตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ไม่ยอมรับ
ต้องมีการแก้ไข ต้องกลับไปเริ่มต้นที่ขั้นตอน
การปรู๊ปในส่วนนั้นๆใหม่
       พัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ (RD.)
-รับแผนการผลิต ตรวจสอบแผนการผลิต
-แยกวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิต
-กำหนดขั้นตอนการผลิต
-กำหนดสเปคในแต่ละขั้นตอนการผลิต
       ตรวจสอบคุณภาพ(QC).
-รับแผนการผลิต ตรวจสอบแผนการผลิต
-กำหนดมาตรฐานการตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิต
-กำหนดวิธีการตรวจสอบให้ตรงตามมาตรฐาน
-กำหนดการรายงานการตรวจสอบ
-ออกใบรับรองต่างๆที่ลูกค้ากำหนดมา
-รายงานงานที่ตรงและไม่ตรงตามสเปค
      ส่วนการผลิต
-รับแผนการผลิต ตรวจสอบแผนการผลิต
-เตรียมความพร้อมของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต
-ตรวจเช็คพร้อมของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
-รายงานการผลิตตามใบรายงานกำหนด
-มีการผลิตไม่ตรงตามแผนการผลิตทุกขั้นตอน
การผลิต เช่นเวลาที่ใช้ในการผลิต,การสูญเสีย
มากกว่าที่กำหนด เพราะมีผลกับการทุกขั้นตอน
การผลิต ทำให้ขั้นตอนสุดท้ายคือการผลิตส่ง
สินค้าได้ไม่ครบจำนวนและตรงตามกำหนดเวลา
     สโตร์สินค้าสำเร็จรูป
-ตรวจเช็คจำนวนการโอนเข้าสต๊อกสินค้าเทียบกับ
การแจ้งจากการวางแผน
-รายงานสินค้ารับเข้าประจำวัน
-จ้ดทำสต๊อกสินค้าสำเร็จรูป
-จัดเตรียมการส่งสินค้า
-แจ้งฝ่ายตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก
     จัดส่ง
-จัดเตรียมส่งสินค้าตามแผนงาน
-เตรียมความพร้อมพาหนะในการจัดส่ง
-จัดเตรียมเอกสารทุกอย่างที่ต้องใช้และให้ลูกค้า
    วิศวกร(หรือซ่อมบำรุง)
- รับแผนการผลิต
-เตรียมความพร้อมในการดูแลเครื่องจักรให้สามารถ
ทำงานได้ตามแผนงาน
-จัดเตรียมการเก็บข้อมุลการซ่อม,การหยุดเครื่อง,
การใช้เวลาในการซ่อม,การหยุดเครื่องจักรเพื่อ
ซ่อมประจำเดือนและปี



    (อยู่ระหว่างปรับปรุงครับ อาจมีบางส่วนไม่ครบหรือไม่มีความละเอียดพอ)


























ข้อสำคัญที่สุดที่ควรพิจารณาเลือกซื้อเครื่องจักร




   " ซื้อเครื่องจักรมาเพื่อทำงาน ไม่ได้ซื้อมาเพื่อซ่อม"คือ

การทราบวิธีการใช้เครื่องจักรอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มต้น เป็นการดูแล

รักษาเครื่องจักรที่ดีที่สุด ใช้งานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

  อันดับแรก..ควรทราบก่อนว่ามีความต้องการผลิตสินค้าชนิดใด,

ต้องใช้เครื่องจักรลักษณะอย่างไร, รูปแบบของเครื่องจักรควรเป็น

แบบใด ที่สามารถตอบสนองการผลิตสินค้า ได้มีคุณภาพที่ดีที่สุด

การที่ไม่ทราบจะทำให้ ซื้อเครื่องจักรไม่ตรงกับการผลิตสินค้าชนิด

นั้น จะเป็นการลงทุนที่สูงหรือสูญเปล่าได้ การเลือกเครื่องจักรก็

เปรียบเหมือนกับการซื้อรถยนต์มาใช้งาน ต้องการใช้บรรทุกสินค้าควร

ใช้รถประเภทใด และ ถ้าต้องการ ซื้อมาใช้ขับแข่งในสนามแข่ง

ควรใช้รถประเภทใด ซึ่งทั้งสองแบบ จะต้องมีความแตกต่างด้าน 

คุณสมบัติที่แตกต่างกันตามประเภทการใช้งาน เป็นสิ่งที่สำคัญ

   ******** เครื่องจักรที่ออกแบบได้ตรงกับชนิดสินค้าจะสามารถผลิตสินค้าได้ดี คือเครื่องจักรที่ออกแบบ มาเพื่อสินค้านั้นๆโดยเฉพาะ หรืออาจแตกต่างบ้างเล็กน้อย แต่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ดีที่สุด ทุกชนิด

         เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดคือการเลือกเครื่องจักรที่ถูกต้องตรงกับการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ**********

การวางแผนที่ดีตั้งแต่แรกเริ่มคือการวางแผนเรื่องการจัดซื้อจัดหาเครื่องจักรให้ถูกต้องเป็นการเริ่มต้นที่ดี

 การมีเครื่องจักรที่ดีแล้วแต่ยังขาดประสบการณ์และเทคนิคการใช้เครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพ ก็ยังไม่สามารถผลิตสินค้าได้ดีที่สุดได้


เครื่องจักรแต่ละชนิดถูกออกแบบเป็นเครื่องจักรตามมาตรฐาน
ทั่วไป ถ้าต้องการสินค้าแบบพิเศษโดยเฉพาะ ควรปรึกษากับผู้
ผลิตเครื่องจักร เพื่อที่จะได้มีการปรับปรุงเครื่องจักรให้ตรงตาม
สินค้านั้นๆจะผลิตสินค้าออกมาได้ดีที่สุด

การบริการหลังการขาย...มีทีม SERVICE หรือไม่มี, หรือ ว่ามี

ทีมแต่ไม่มีคุณภาพ,ใช้เวลาในการบริการนานเท่าไร,หลังการ

ติดตั้งเครื่องแล้ว ส่งมอบเครื่องจักรแล้ว มีการติดตามคุณภาพ

เครื่องจักร,การใช้งานเครื่องจักรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดหรือ

ไม่,สามารถให้คำแนะนำลูกค้าเรื่องเทคนิคการเดินเครื่องจักร,มี

การให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการผลิตหรือไม่,มีการทำ

โครงงานร่วมกันในการพัฒนาเครื่องจ้กรให้สามารถรองรับงาน


ใหม่ได้หรือไม่ ( R/D )

 

advisor

www.gravurecon.com 

เครื่องพิมพ์กราเวียร์ (Gravure Printing )




เครื่องพิมพ์กราเวียร์ (Gravure Printing )

........................................................................................................
................................................................................................

------------------------------------------------------------------------------------------------

-------------------------------------------------------------------------------------------------


   เครื่องพิมพ์กราเวียร์ (Gravure Printing )
 คือเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์พลาสติกชนิดอ่อน
( Flexible ) ลักษณะเป็นฟิล์มแผ่นบาง มีชื่อ
เรียกตามชนิดของพลาสติก เช่น OPP,CPP , PET ,
NYLON ทำการพิมพ์ตามรูปภาพที่ต้องการ มี
จำนวนสีการพิมพ์ตั้งแต่ 1 สีเป็นต้นไป เช่น ถุงน้ำ
แข็ง จนถึงขนาดที่มีจำนวนสีหลายสี เช่น ซอง
บะหมี่ ซองบรรจุมันฝรั่ง น้ำยาล้างจาน,ถุงน้ำตาล
 1 กก.,ถุงข้าว 5 กก.กระสอบสานเคลือบ opp 
(กำลังมาแรง) เป็นต้น ต้องมีความชำนาญใน
การผลิตเริ่มตั้งแต่ขบวนการออกแบบ การทำ
แม่พิมพ์

การทดลองหาค่าเปอร์เซ็นต์สีในการทำ
แม่พิมพ์ ( finger print )
การทดลองทำแม่พิมพ์ครั้งแรกเพื่อใช้สำหรับ
เครื่องจักรครั้งแรกต้องมีการทดลองหาค่า
เปอร์เซ็นต์สี ( finger print )ในการทำแม่พิมพ์
เพื่อทดลองหาค่าการทำแม่พิมพ์ว่ามีค่าเปอร์เซ็นต์
สีที่เหมาะสมกับเครื่องจักรนี้ จะสามารถถ่าย
ทอดสีจากแม่พิมพ์สู่ฟิล์มได้ดีที่สุด ..
ว่าสามารถที่จะทำเปอร์เซ็นต์สีที่ต่ำสุดและสูงสุด
เท่าไร เพราะภาพพิมพ์ที่ออกแบบมา จะมีการ
ให้เปอร์เซ็นต์สีที่รูปภาพแตกต่างกันเพื่อให้มีมิติ
 (ความลึกของภาพ) ทำให้เกิดความสวยงาม...
เพื่อหาค่าเปอร์เซ็นต์สีของเครื่องจักรเพราะเครื่อง
จักรแต่ละเครื่องความเร็วไม่เท่ากันหรือการใช้วัตถุ
ดิบต่างชนิดกันจะใช้ความเร็วแตกต่างกันด้วย.. 
การหาค่านี้จะทำให้ได้ค่าการให้เปอร์เซ็นต์สีที่้
เหมาะสมกับเครื่องจักร ...
การให้เปอร์เซ็นต์สีคือการให้จำนวนเปอร์เซ็นต์สี
ว่าในภาพที่ต้องการพิมพ์ว่าควรให้ปริมาณสีในภาพ
ของแต่ละสีแบ่งเป็นสีละกี่เปอร์เซ็นต์แล้วรวมกันทุก
สีออกเป็นภาพเดียวกัน เช่น สีฟ้า 20 % ,สีแดง 5 %
,สีเหลือง  10 % ,สีดำ 3 % , สีขาว 62% .การให้
เปอร์เซ็นต์สีมีการให้ตั้งแต่ 0 % ถึง 100% แต่ขึ้น
อยู่กับว่าเครื่องจักรนั้นว่าจะสามารถ ถ่ายทอดสีออก
จากแม่พิมพ์ออกไปติดฟิล์มที่พิมพ์ได้เปอร์เซ็นต์
ที่เท่าไร เช่น เครื่องจักร A .สามารถให้เปอร์เซ็นต์
สีได้ตั้งแต่ 3 % ขึ้นไปจนถึง 100% แต่เครื่องจักร B.
สามารถให้เปอร์เซ็นต์สีได้ตั้งแต่ 10 % ขึ้นไปจนถึง 
100% .แต่ถ้าเครื่องจักร B ทำแม่พิมพ์มาให้เปอร์
เซ็นสีตั้งแต่ 3% จะทำให้สีตั้งแต่ 3 % ถึง 9 % จะไม่
ถูกถ่ายทอดออกมาจากแม่พิมพ์ไปติดผิวฟิล์ม 
ภาพจะไม่มีสีสว่นนี้จะถูกสีส่วนอื่นมาบังทับ 
หรือมองเห็นพื้นหลังของงาน..
***สำหรับเครื่องจักรที่ไม่ได้ทำขั้นตอนนี้ไม่ต้องทำใหม่
สามารถนำงานเก่าที่พิมพ์แล้วให้ร้านทำแม่พิมพ์ตรวจ
เช็คหาค่าเปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสมกับเครื่องจักรนี้ได้..Cr.Eed

  ในที่นี้ขอพูดถึงกระบวนการพิมพ์ให้ได้คุณภาพ
   ที่ต้องการ
  1. เครื่องจักรต้องเหมาะสมกับงาน เช่น ต้องการพิมพ์วัสดุที่มีความแข็งประเภท กระดาษ อลูมิเนียม ต้องมีเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อรับน้ำหนักที่มากและแรงดึงที่สูง และ ถ้าหากต้องการพิมพ์วัสดุที่มีความนิ่ม ต้องใช้เครื่องจักรที่มีตัวควบคุมความตึง-หย่อน ( Tension Control) มีความละเอียดสูง
  2. พนักงานควบคุมเครื่องจักรต้องมีประสบการณ์ในการควบคุมเครื่องจักรระหว่าง 3-5 ปี เพราะเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ต้องใช้ความชำนาญในการควบคุมและปรับแต่งเครื่องจักรและในเรื่องการควบคุมการใช้สีที่ถูกต้องตรงตามตัวอย่างของลูกค้า
  3. วัสดุที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมกับสินค้านั้นๆ ดังเช่น ถุงบรรจุน้ำมันพืช ควรใช้ฟิล์มพลาสติกชนิดที่มีความคงทนกับการซึมผ่านผิวฟิล์มถ้าไม่ถูกชนิดจะทำให้เกิดการรั่วซึมและน้ำม้นพืชมีกลิ่นเหม็นหืน
  4. วิธีการทำการต้องมีขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง ทั้งในการควบคุมเครื่องจักรและการใช้สี ผสมสีให้ถูกต้องจะทำให้มีคุณภาพงานพิมพ์ที่ดี ภาพตรงคมชัด และเฉดสีถูกต้องตรงความต้องการของลูกค้า
      ส่วนที่สำคัญของเครื่องพิมพ์กราเวียร์
  1. ตัวเก็บม้วน ( Rewind ) ต้องมีตัวควบคุมการเก็บม้วนให้เรียบสม่ำเสมอเพราะมีผลกับคุณภาพงานพิมพ์ให้คมชัด และม้วนฟิล์มไม่ยับหรือยืด
  2. ตัวปล่อยม้วน ( Unwind ) เช่นเดียวกับตัวเก็บม้วน ( Rewind )
  3. ตัวควบคุมแรงตึง ( Tension Control )ต้องมีความเหมาะสมกับชนิดของฟิล์ม เช่นฟิล์มที่มีความแข็ง ต้องใช้เทนชั่นที่มีแรงดึงสูง ฟิล์มชนิดอ่อนก็ใช้เทนชั่นที่มีแรงดึงต่ำ
  4. แม่พิมพ์เป็นต้นทางในการทำรูปแบบของงานต้องทำแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพตรงตามรูปแบบ
  5. ลูกยางกดทับฟิล์ม ต้องมีความแข็งที่เหมาะสมกับชนิดของฟิล์ม
  6. ถาดสี ต้องมีขนาดที่สามารถบรรจุปริมาณสีได้มากพอ
  7. ปั้มสี ต้องมีแรงดันที่สามารถปั้มสีเข้าถาดสีได้สม่ำเสมอและทั่วถึงทั้งถาดสี
  8. ใบมีดปาดสี ( Doctor Blade ) ต้องมีคุณภาพที่ดีสามารถปาดสีที่ติดกับแม่พิมพ์ได้ทั้งหมด เพื่อป้องกันปัญหาสีส่วนเกินติดไปในสิ่งพิมพ์
  9. ตู้อบสี ต้องมีแรงลมร้อนที่เหมาะสมสามารถอบสีที่ติดกับสิ่งพิมพ์ให้แห้ง ไม่หลุดลอกไปติดส่วนอื่น
  10. การล้างทำความสะอาดบล็อค(แม่พิมพฺ์)และถาดสี มีความสำคัญมาก ควรล้างให้สะอาด ***ไม่มีแปรงใดๆมีขนาดเล็กมาก ที่จะสามารถทำความสะอาดได้ลึกจนสุดปลายหลุมสกรีน***
  11. มีสีตกค้างที่ส่วนที่ลึกสุดของปลายหลุมสกรีนแม่พิมพ์ ควรทำความสะอาดด้วยวิธีใดที่ สามารถทำความสะอาดได้ เหมือนแม่พิมพ์ใหม่ยังไม่ได้ถูกใช้งาน
  12. การใช้ขนิดของสี ,ชนิดสารทำละลายสี,อัตราส่วนการผสมสารทำละลาย,คุณภาพของสารละลายมีผลต่อคุณภาพของภาพพิมพ์มาก ทำให้ความคมชัดของภาพพิมพ์เฉดสีที่ออกมาตรงกับตัวอย่างได้มากที่สุด 

  ปัญหาที่พบ

ภาพพิมพ์


ภาพไม่ตรงสม่ำเสมอทั้งภาพ
 เกิดจาก.ปั๊มสีแรงไม่พอให้สีหมุนเวียนได้สม่ำเสมอ.

ภาพไม่ตรงเป็นบางช่วงการพิมพ์
เกิดจาก.ฟิล์มบวม,แม่พิมพ์เบี้ยว,ลูกกลิ้งเอียง,น้ำไม่เย็น..

ภาพไม่ตรงบางภาพด้านข้าง
เกิดจาก...ฟิล์มบวม,แม่พิมพ์เบี้ยว,ลูกกลิ้งเอียง,
น้ำไม่เย็น,ลมเป่าแรง, ตั้งอุณหภูมิสูง

ภาพไม่ตรงบางภาพด้านบนภาพ
เกิดจาก.น้ำไม่เย็น.ลมเป่าแรง,ตั้งอุณหภูมิสูง

 ภาพสีไม่เหมือนทั้งภาพ
เกิดจาก..ผสมสีไม่ถูกต้อง,การผสมสี สียังไม่ผสม
เข้ากันได้ดี รีบเดินเครื่องจักรแล้วปรับสีขณะเครื่อง
จักรเดินเครื่องไม่จอดเครื่อง...

ภาพสีไม่เหมือนเป็นบางภาพ
เกิดจาก.แม่พิมพ์ทำมาภาพไม่สม่ำเสมอ,
การตั้งใบมีดปาดสีไม่เท่ากัน......

ภาพไม่เหมือนกันทุกม้วน
เกิดจาก.....ผสมสีไม่ถูกต้อง,การผสมสี
สียังไม่ผสมเข้ากันได้ดี รีบเดินเครื่องจักร
แล้ว ปรับสีขณะเครื่องจักรเดินเครื่อง
ไม่จอดเครื่อง.......

 ภาพพิมพ์ออกมาภาพเป็นคลื่น
 เกิดจาก  ลูกยางไม่เรียบ,ความแข็งลูกยาง
 แข็งเกิน มาตรฐาน ,สีเหลว....
                         
                       
          สีที่ภาพพิมพ์   
* สีเลอะบนภาพเป็นคราบ
  เกิดจาก.สีในถาดสีเป็นฟองอากาศ.

* สีเส้นสีลากบนภาพ
  เกิดจาก....สีมีความเข้มข้นสูง,
  มีสิ่งสกปรกติดใบมีดปาดสี..

* สีเป็นเส้นเป็นบางช่วง
 เกิดจาก....สีมีความละเอียดของเม็ดสี
 ไม่ละเอียดพอ,ใบมีดปาดสีปาดสีได้ไม่หมด

* สีเป็นดวงๆวงกลมที่ภาพ
 เกิดจาก....สีในถาดสีเป็นฟองอากาศ.
 ฟองอากาศเกาะติดแม่พิมพ์....

* สีเป็นจุดขาวๆบางจุดของภาพ
 เกิดจาก....สีไหลลง และ ถ่ายเทออกหลุม
 สกรีนแม่พิมพ์ไม่ดี,ตั้งใบมีดปาดสีมุมอศา
 ไม่ได้มาตรฐานและการกดใบมีดมีน้ำหนัก
 มากเกิน

* สีส่วนเกินติดภาพเป็นช่วงๆ
 เกิดจาก...สีเหลว,มีเศษสีหรือสิ่งสกปรกติด
 ลูกกลิ้งและลูกยาง,ใบมีดปาดสีโก่งตัว
 ปาดสีไม่สม่ำเสมอ

* สีพิมพ์ออกมาไม่เกาะติดฟิล์ม
 เกิดจาก...ค่าการเกาะติดของสีไม่ดี ,
 ฟิล์มค่าโคโร่น่าทรีทไม่ได้มาตรฐาน.....

* สีที่พิมพ์ออกมาแล้วส่งดรายลามิเนทแล้ว
  เป็นฟองอากาศ
  เกิดจาก....คุณภาพความหนาแน่นของสีน้อย
  ปริมาณกาวขีันผิวฟิล์มน้อย., ชนิดของ
  สีและชนิดของกาวไม่ถูกต้อง......

* สีที่ใช้งานไปช่วงระยะเวลาหนึ่งจะมีตะกอนที่ก้นถาด
   สีมากทำให้สีเป็นเส้น
   เกิดจาก..คูณภาพสีมีการแข็งตัวเร็ว ,
   การหมุนเวียนสีไม่ดี........

.......................................................................................................................

- ความแข็งของ ลูกยาง มีผลอย่างไ
มีผลคือ...งานพิมพ์ฟิล์มลูกยางแข็งมากเกิน
ทำให้ฟิล์มยับ,กดฟิล์มไม่อยู่ ลื่น ทำให้จับฟิล์ม
ไม่ได้ ภาพไม่ตรง

- การไหลหมุนเวียนของสี มีผลอย่างไร
มีผลคือ...ไหลเวียนไม่ดีภาพพิมพ์สีจะไม่สม่ำสมอ
เท่ากันทุกภาพ หรือทุกม้วน
.
- ขนาดความกว้าง ความยาวของถาดสีมีผลอย่างไร
มีผลคือ...ปริมาณของสีที่้พียงพอ,สีไม่ตกตะกอน,
สิ่งสกปรก ตกตะกอน ไม่ถูกหมุนเวียนขี้นมาติดใบมีด
ปาดสี ทำให้สีขี้นเส้น ภาพพิมพ์เป็นเส้น

- การตั้งความยาวของใบมีดปาดสี มีผลอย่างไร
มีผลคือ...ความสึกหรอของแม่พิมพ์,ภาพพิมพ์เฉด
สีไม่ตรงตามตัวอย่าง,การพิมพ์คั้งต่อไปเฉดสีไม่
เหมือนการพิมพ์ครั้งแรก

-ความยาวของแม่พิมพ์มีผลกับคุณภาพ
งานพิมพ์อย่างไร
มีผลคือ...แม่พิมพ์ยาวจะมีการถ่วงศูนย์ (ิblance)
ดีกว่าแม่พิมพ์สั้น การควบคุมภาพพิมพ์จะมีความ
นิ่งกว่า,

-การตั้งแรงลมดูดของลมดูดชุดอบสี มีผลอย่างไร
มีผลคือ..ทำให้การแห้งของสีดี,ฟิล์มไม่ส่าย,กลิ่น
ของสีถูกดูดออกได้ดี

-อุณหภูมิ ในการตั้งใช้งานในชุดตู้อบสีมีผลอย่างไร
มีผลคือ..ตั้งแรงลมต่ำสีจะไม่แห้ง ,ตั้งลมแรง
ฟิล์มจะกระพือทำให้ฟิล์มส่าย ภาพไม่ตรง

-ฤดูการ(ร้อน,ฝน,หนาว) มีผลอย่างไร
มีผลคือ..ฤดูหนาวอากาศเย็นสีจะแห้งช้า,
ฤดูฝนมีความชื้สูงสีจะไม่แห้ง,ฤดูร้อนสีจะแห้งเร็ว
ต้องปรับอัตราส่วนของทินเนอร์ที่ใช้ ให้มีการแห้ง
ที่เหมาะสม

 -น้าเย็น ที่หล่อเย็น มีผลอย่างไร
มีผลคือ...การแห้งของสีหลังผ่านตู้อบสี ถ้าไม่เย็น
เพียงพอสีไม่แห้งและฟิล์มออ่นตัว จะยืด หด
ภาพพิมพ์จะไม่ตรงในการพิมพ์ของแต่ละป้อมพิมพ์

- ความเร็วรอบของลูกกลิ้งมีผลอย่างไร
มีผลคือ...คือความเร็วของการเดินเครื่องจักร
,ความเร็วมากความคมชัดของภาพจะคมชัดกว่า
เดินเครื่องจักรด้วยความเร็วต่ำ

-ไฟฟ้าสถิตย์ มีผลอย่างไร
มีผลคือ..ทำให้มีการแตกกระจายของสีที่เกาะติด
ภาพพิมพ์ สีจะมีการกระจายตัวแตกเป็นเส้น

- การพักม้วนหลังการพิมพ์มีผลอย่างไร
มีผลคือ..ทำให้ฟิล์มลดอุณหภูมิ มีความแข็ง,
สีมีการแห้ง,ทินเนอร์มีการระเหยออกหมด
,มีผลกับการผลิตขั้นตอนต่อไป

-การทำความสะอาดแม่พิมพ์หลังการพิมพ์มีผลอย่างไร
มีผลคือ..ทำความสะอาดไม่ดีมีสีตกค้างในหลุมสกรีน
การพิมพ์ครั้งต่อไปเฉดสีจะไม่เหมือนการพิมพ์ครั้งที่ผ่านมา

-การทำความสะอาดถาดสี,ปั๊มสี มีผลอย่างไร
 มีผลคือ..ไม่สะอาดสีจะเป็นก้อน,เฉดสีเก่า
ตกค้างละลายออกมาหลังการพิมพ์ไประยะ
เวลาหนึ่งทำให้เฉดสีไม่ตรงตามตัวอย่าง

- ความละเอียดของเม็ดสีที่ดีควรมีขนาดละเอียด 
  ไมคร่อนที่เท่าไร
มีผลคือ..โดยปกติประมาณ 3- 5 ไมคร่อนถ้ามากกว่า
สีจะเป็นก้อนและลงหลุมสกรีนแม่พิมพ์ได้ไม่ดีมีผล
ให้การปรับเฉดสีได้ไม่ตรงกับตัวอย่าง

- การตั้งระดับความยาวของใบมีดปาดสี
(docter blade)   มีผลอย่างไรกับเฉดสี
มีผลคือ..การปรับยาวเกินจะกดปาดสีที่แม่พิมพ์ได้
ไม่หมดสีจะเป็นละอองติดภาพพิมพ์(เป็นฝ้า),ถ้าปรับ
สั้นเกินจะกดแม่พิมพฺมากเกินทำให้ปริมาณสีถูกปาด
ออกมาดสีติดฟิล์มน้อยเฉดสีจะอ่อนและสีแห้ง,มีดสั้น
จะกดแรงทำให้แม่พิมพ์สึกหรอได้เร็ว อายุการใช้
งานสั้นลง

 - ความเข้มข้นของสี(เนื้อสี)มีผลกับราคาต้นทุนและ
   การปรับเฉดสี มากเพียงใด
มีผลคือ...การตรวจเช็คราคาสี และอัตราสว่นการผลิต
ที่ใช้เรซิ่นสีว่าอัตราส่วนเท่าไร สามารถผสมกับทินเนอร์
ได้มากน้อยเท่าไรมีผลมากเพราะราคาทินเนอร์ถูกว่า
ราคาสีและการปรับเฉดสีที่ปรับสีเข้ม-อ่อนได้กว้างกว่า

  -ความละเอียด,ความลึกของแม่พิมพ์ มีผลต่อ
   คุณภาพ งานพิมพ์ หรือไม่
มีผลคือ...ความคมชัดของภาพพิมพ์,การปรับเฉดสี
ของภาพพิมพ์,ความทึบแสงความโปร่งแสงของ
ภาพพิมพ์

  - ขนาดความยาว และ น้ำหนักของแม่พิมพ์มี
     ผลดีอย่างไร
มีผลคือ..แม่พิมพ์ที่มีน้ำหนักที่เหมาะสมไม่เบาเกินไป
จะเดินเครื่องจักรได้นิ่งเรียบกว่าเพราะแม่พิมพ์ที่มี
น้ำหนักจะต้องทำการควาบคุมการหนีศูนย์ต้อง
ควบคุมให้ได้ยากกว่าแม่พิมพ์เบา

  -การปรับแต่งแบบพิมพ์ตั้งแต่ได้รับแบบพิมพ์
  (art work)มีผลกับคุณภาพและความพอใจ
  ของลูกค้า มากน้อยเพียงใด
มีผลคือ...ต้องทราบความเร็วที่เครื่องจักรที่สามารถ
ทำได้เพื่อปรับขนาดหลุมสกรีนว่าสามารถรับสีและ
ถ่ายเทสีได้ดีที่สุดความเร็วที่แตกต่างจะรับสีและ
ถ่ายเทสีไม่เท่ากัน เครื่องจักรที่มีความเร็วสูงจะ
หลุมสกรีนที่เล็ก ใข้ความหนืดสีต่ำกว่า
(ต้นทุนสีจะต่ำกว่าความสวยงาม คมช้ดจะมากกว่า)

 - การรับทราบความต้องการของลูกค้าตั้งแต่แรกเริ่ม
   รับงานกับลูกค้ามีความสำคัญระดับใด
มีผลคือ...ทำให้การปรับรูปแบบการพิมพ์ให้ตรงกับ
เครื่องจักรและความต้องการของลูกค้าตั้งแต่เริ่มต้น
ว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้างที่ไม่สามารถทำได้ตรง 100 %
กับตัวอย่างของลูกค้า

 -การใช้สีแตกต่างผู้ผลิตสี(sup.)ในภาพพิมพ์ภาพ
  เดียวกันมีผลดีต่อความสวยงามคมชัดหรือไม่
มีผลคือ...ความหนาแน่นของแม่สี,ความใส,ความทึบ
แสงของแต่ละผู้ผลิตไม่เท่ากัน มีผลกับความสวย
งามมาก

 - คุณสมบัติของสี ของแต่ละผู้ผลิตสี (sup ) 
มีข้อดี  ข้อเสีย   แตกต่างกัน มีผลต่อคุณภาพ
ของภาพพิมพ์หรือไม่
มีผลคือ...การเกาะติดของสีมีค่าการเกาะติดแตกต่าง
กันค่าการเกาะติดดีราคาจะสูงกว่า,การผสมทินเนอร์
ได้มากน้อยเพียงใดมีผลกับราคาและการปรับเฉดสี,
การมีกลิ่นตกค้าง,การส่งต่อไปในขั้นตอนการผลิตต่อ
ไปมีผลกับการเกาะติดดีหรือไม่ดี มีฟองอากาศ,
การเกาะติดไม่ดีหรือไม่
  -----
              
   ******** เครื่องจักรที่ออกแบบมาจะสามารถผลิตสินค้าได้ดี คือเครื่องจักรที่ออกแบบ มาเพื่อสินค้า
นั้นๆ หรืออาจจะใกล้เคียงบ้างเล็กน้อย แต่จะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ดี ทุกชนิด เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่
ควรทำคือการเลือกเครื่องจักรให้ถูกต้องกับการผลิตสินค้า****** ตัวอย่างเช่น มีงานพิมพ์ฟิล์มบาง( nylon , opp , cpp, lld.pe)  แต่ซื้อเครื่องจักรที่ใช้สำหรับที่ใช้พิมพ์กระดาษหรือพิมพฺ์อลูมิเนียม ทำให้ไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตแล้วมีการสูญเสียที่สูง
 งานที่ต้องการพิมพ์สีด้านล่าง7 สีต่อด้วยฟิมพิ์บน1 สี ( TURN BAR) และต้องการเคลือบความเงาในสีที่8ด้านบนให้เงาโดยการเคลือบวานิชหรือแว๊ก ควรเลือกเครื่องให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้น วานิชหรือแว๊กจะไม่เงา จะมีสีเหลือง และบล็อคกิ้ง...ต้องใช้เครื่องสเปคพิเศษโดยเฉพาะ
น้ำเย็น...อย่ามองข้ามไม่ให้ความสำคัญนะครับ เพราะพลาสติกใช้อุณหภูมิในการเซ็ตตัว ต้องเย็น
 และการไหลหมุนเวียนดี (flow)..การที่มีไอน้ำเกาะไม่ใช่หมายความว่าความเย็นเพียงพอ แต่เป็น
การไหลเวียนของน้ำเย็นไม่ดี การไหลเวียนดีจะไม่มีไอน้ำเกาะ (condent)....ประเทศไทย เป็น
ประเทศที่อากาศร้อน ชื้น  มีความต้องการความเย็นมากกว่าต่างประเทศที่อากาศหนาว การใช้เพียง cooling tower ไม่เพียงพอ และการใช้แบบตู้ทำความเย็นก็ไม่เพียงพอ เพราะต้องการปริมาณน้ำเย็น
ที่เพียงพอกับการหมุนเวียนให้อุณหภูมิ คงที่สม่ำเสมอกับการใช้งานแบบต่อเนื่อง 12 ชม.เป็นอย่าง
น้อยหรือตลอดระยะเวลาทั้งสัปดาห์


การบริการหลังการขาย...มีทีม SERVICE หรือ
ไม่มี, หรือ ว่ามีทีมแต่ไม่มีคุณภาพ,ใช้เวลาใน
การบริการนานเท่าไร,หลังการติดตั้งเครื่องแล้ว
 ส่งมอบเครื่องจักรแล้ว มีการติดตามคุณภาพ
เครื่องจักรการ ใช้งานเครื่องจักรให้ได้ประสิทธิ
ภาพสูงสุดหรือไม่.สามารถให้คำแนะนำลูกค้า
เรื่องเทคนิคการเดินเครื่องจักร,มีการให้คำแนะ
นำเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการผลิตหรือไม่,มีการทำ
ได้ดีเต็มประสิทธภาพ


( อยู่ระหว่างปรับปรุงเพิ่มเติม สาเหตุ,การแก้ไข และป้องกันครับ)

 - www.gravurecon.com

        
 เครื่องพิมพ์กราเวียร์ขณะทำงาน
VDO gravure printing
( for Film printing machine )

 เครื่องพิมพ์กราเวียร์
สำหรับพิมพ์กระดาษและอลูมิเนียม
 gravure printing
( for Paper &Aluminium printing machine )
  




เครื่องดรายลามิเนท (Dry Laminate Machine)



Dry Laminate Machine

Dry Laminate Machine คือเครื่องโค้ดกาวลงบนผิวฟิล์มพลาสติกเพื่อประกบให้ฟิล์มพลาสติก 2 ชิ้นมาประกบติดกัน เช่น Nylon ประกบกับ LLD.PE

  1. ส่วนโค้ดกาวประกบด้วยบล็อคกาว,ความลึกของสกรีนกาว,ลูกยางกดทับบล็อค,ถาดกาว
  2. ส่วนตู้อบกาวหลังการโค้ดกาวเพื่อให้แห้ง หมาด
  3. ส่วนการรีดประกบกันระหว่างชิ้นงานที่ผ่านการโค้ดกาวและฟิล์มที่จะประกบ
  4. ส่วนการปล่อยม้วน ม้วนเข้าเครื่องส่วนหน้า เข้าส่วนโค้ดกาว
  5. ส่วนการปล่อยม้วน เข้าสว่นการรีดประกบฟิล์ม
  6. ส่วนการเก็บม้วน หลังการรีดประกบฟิล์มหลังการรีดประกบ

- ส่วนสำคัญในเครื่องจักรนี้คือ

 การทำงานของเครื่องจักร

      นำม้วนฟิล์มพลาสติกที่ไม่พิมพ์สีหรือพิมพ์สี ขึ้นเครื่องในส่วนชุดปล่อยม้วนด้านหน้าก่อนการ 

โค้ดกาว ปล่อยม้วนเข้าในส่วนการโค้ดกาว ผ่านเข้าไปในส่วนตู้อบ, ผ่านเข้าส่วนตู้อบ, ผ่านเข้าส่วนรีด

ประกบชิ้นงาน สุดท้ายเข้าเก็บม้วนงานในส่วนของการเก็บม้วนหลังประกบ


-ข้อควรระวังในการทำงาน


  1. ชนิดของกาวและอัตราส่วนในการผสมกาวต้องให้ถูกต้องตาม อัตราส่วน ของแต่ละชนิดกาวและชนิดของงานที่ต้องการ
  2. สกรีนแม่พิมพ์ต้องมีความลึก ความกว้าง ที่เหมาะสมกับความต้องการปริมาณกาวที่ต้องการโค้ดลงบนผิวฟิล์ม
  3. ถาดกาวต้องมีความลึก ความกว้าง ในปริมาตร ที่เหมาะสมให้กาวหมุนเวียนได้ดี
  4. ปั๊มกาว ต้องมีแรงดันที่เหมาะสมเพื่อกาวได้หมุนเวียน ขึ้นบนถาดกาวได้ดี
  5. อุณหภูมิในตู้อบต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อกาวจะได้แห้งหมาด และฟิล์มที่อบไม่ยืด-หด
  6. ชุดประกบหรือรีดฟิล์ม สองชิ้นให้ประกบติดกัน ลูกยางต้องมีความแข็งที่ถูกต้องตามชนิดฟิล์ม
  7. ถ้าไม่ถูกต้องจะมีปัญหา งานจะยับ,หรือกาวจะถูกรีดไม่เต็มพื้นที่ ของฟิล์ม
  8. ชุดปล่อยม้วนฟิล์มประกบ ต้องมีแรงตึงที่เหมาะสมเพื่อป้องกันฟิล์มยับ, เป็นฟองอากาศ
  9. ชุดเก็บม้วนหลังการประกบ ต้องเก็บไม่ให้แน่นเกินหรือหย่อนเกิน เมื่อม้วนออกไปเก็บและกาวแห้งจะพบปัญหาการยับและฟองอากาศหรือเป็นคลื่น
  10. การล้างทำความสะอาดบล็อคกาวและถาดกาว มีความสำคัญมาก ควรล้างให้สะอาด ***ไม่มีแปรงใดๆมีขนาดเล็กมาก ที่จะสามารถทำความสะอาดได้ลึกจนสุดปลายหลุมสกรีน***
  11. มีกาวตกค้างที่ส่วนที่ลึกสุดของปลายหลุมสกรีนควรทำความสะอาดด้วยวิธีไหน

     - ปัญหาที่พบ

   1. ขิ้นงานเป็นฟองอากาศจุดเล็กๆละเอียด
เกิดจากปริมาณกาวที่โค้ดบนผิวฟิล์ม น้อยเกินไป(กาวบาง)

   2. ชิ้นงานเป็นรอยยับริมด้านหนึ่ง เป็นแนวยาวไปยังริมอีกด้านหนึ่ง (เป็นแนวตรง)
เกิดจากการที่ต้วควบคุมความตึง-หย่อน ของฟิล์ม ของชุดปล่อยม้วนทั้งหมดทำงานไม่เหมาะสมกัน

   3. ม้วนงานหลังจากการเก็บพักให้กาวแห้งแล้วกาวแข็งติดริม
เกิดจากมีกาวส่วนเกินจากสกรีนแม่พิมพ์หรือลูกยางที่กดทับ เกินออกไปจากแผ่นฟิล์ม

   4. ม้วนงานหลังจากการเก็บพัก ม้วนไหล
เกิดจากการเก็บม้วนควบคุมความตึง-หย่อนไม่ดี และปริมาณกาวที่โค้ดติดผิวฟิล์มมากเกิน

   5. ม้วนงานหลังจากการเก็บพักแล้ว ชิ้นงานไม่แห้ง (กาวไม่แห้ง)
เกิดจาก อัตราส่วนผสมกาวไม่ถูกต้อง หรือใช้นิดกาวไม่ถูกต้องตรงกับชนิดฟิล์ม

   6. งานที่ผลิตส่งลูกค้าแล้วเกินหนึ่งเดือนงานลอก หรืองานที่ส่งไปต่างประเทศแล้วลอกที่ต่างประเทศ
เกิดจากการที่ใช้ชนิดกาวคุณสมบัติไม่ถูกต้อง กับอายุการใช้งานของสินค้า

   7. งานที่เคลือบออกมาแล้ว ครบเวลากาวแห้งแล้วนำไปสลิทม้วนสำเร็จรูปส่งสินค้าให้ลูกค้า พบว่าลูกค้าตรวจสอบว่ามีกลิ่นเหม็น

            .............................................................................................................................
            
* งานแต่ละชนิดโค้ดกาวติดผิวฟิล์มไม่เท่ากัน
 อยู่ที่ชนิดงานเช่น
 2.0 กรัม/ตารางเมตร
 2.5กรัม/ตารางเมตร
 3.0กรัม/ ตรางเมตร..
 3.5กรัม/ ตารางเมตร
 4กรัม/ ตารางเมตร.
 4.5กรัม/ตารางเมตร

* งานของแต่ละชนิดของวัตถุดิบที่นำมาเคลือบจะ
   มีความแตกต่างชนิดของกาวด้วยเหมือนกันเช่น
   เคลือบโอพีพีกับซีพีพี.จะใช้ชนิดกาวแตกต่าง
   กันกับการเคลือบพีอีทีกับอลูมิเนียม

* ความหนาของวัตถุดิบ ต้องใช้กาวให้ถูกชนิด
   เพราะค่าความเกาะติดที่แข็งแรงของกาวมี
   ความแตกต่างกัน

*การทราบว่าสินค้านั้นบรรจุสินค้าอะไร มีผล
    กับการเกาะติดและการรั่วซึมของสินค้าได้เช่น
    บรรจุพริกป่นจะใช้ชนิดกาวแตกต่างกับ
   บรรจุน้ำพริกเผา

* การโค้ดกาวไม่เหมาะสม ถ้าน้อยเกินจะทำให้การ
     เกาะติด,ความทนทาน, ไม่ดี.ถ้าโค้ดหนาเกิน
     ความจำเป็นจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้น

 * การโค้ดกาวให้ได้ปริมาณที่ต้องการขึ้นอยู่กับ
      ความลึกของแม่พิมพ์,ความถี่-ห่างของตาราง
      แม่พิมพ์,ความเร็วเครื่องจักร,ความเข้มข้น
      ของขนิดกาวที่ใช้,อัตราส่วนผสมของกาว

น้ำเย็น...อย่ามองข้ามไม่ให้ความสำคัญนะครับ
 เพราะพลาสติกใช้อุณหภูมิในการเซ็ตตัว ต้องเย็น
 และการไหลหมุนเวียนดี (flow)..

 ******** เครื่องจักรที่ออกแบบมาจะสามารถ
ผลิตสินค้าได้ดี คือเครื่องจักรที่ออกแบบ
 มาเพื่อสินค้านั้นๆ หรืออาจจะใกล้เคียงบ้าง
เล็กน้อย แต่จะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ดี
ทุกชนิด เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือการ
เลือกเครื่องจักรที่ถูกต้องกับการผลิตสินค้า
ชนิดนั้นๆได้ดีที่สุด*******

 ตัวอย่างเช่น งานดรายลามิเนทฟิล์มบาง( nylon , opp , cpp, lld.pe)  แต่ซื้อเครื่องจักรที่ใช้สำหรับที่ใช้ดรายกระดาษหรือดรายลามิเนทอลูมิเนียม ทำให้ไม่สามารถผลิตได้ดีหรือผลิตแล้วมีการสูญเสียที่สูง

การบริการหลังการขาย.มีทีม SERVICEหรือไม่มี,

( อยู่ระหว่างปรับปรุงเพิ่มเติม สาเหตุ,การแก้ไข และป้องกันครับ)



VDO เครื่องดรายลามิเนท(solvent base)ขณะทำงาน

 www.gravurecon.com

เครื่องสลิท ( slit machine )



(อยู่ระหว่างปรับปรุงครับ)  ระหว่างนี้ถ้ามีคำถามสามารถสอบถามได้ครับ..

     สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกเครื่องจักร

    งานที่จะนำมาสลิท

        - ทิศทางการดึงของงานที่ต้องการ
        - วัตถุดิบที่นำมาสลิท
        - ความหนา ,นักหนัก
        - ขนาดเส้นรอบวงของม้วน
        - ความกว้างของม้วน
        -  จำนวนแถวงาน

  งานที่ต้องการสลิทออกเป็นม้วนสำเร็จรูป

     - ทิศทางการดึงม้วนที่ลูกค้าใช้งาน
     - ความยาวม้วน
     - เส้นรอบวงม้วน
     -  เส้นผ่าศูนย์กลางม้วนสำเร็จรูป
     -  ขนาดสลิท ความกว้าง
     - จำนวนแถวสลิท
     - ความต้องการม้วนเรียบ
     - ความต้องการม้วนแน่น
     - ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนที่ใข้
      -ชนิดของแกนที่ใช้
     -ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางม้วน

        สิ่งเหล่านี้จะเป็นองค์ประกอบในการเลือก
         เครื่องจักรให้มีความเหมาะสมว่า

    - เครื่องจักรต้องมีความกว้างเท่าไร
    - รับน้ำหนักได้เท่าไร
    - แรงดึงของเบรคและตัวเก็บม้วนควร
      เท่าไร
    - ชนิดของใบมีดตัดแบ่งแถวงานควร
       มีจำนวนเท่าไร (ใบ)
    - ชนิดของใบมีดควรเป็นใบมีดขนิดใด
      (กลม, ตรง,ใบมีดโกน )
    -ตัวจับขอบฟิล์ม(eyemark)ควรเป็น
      ชนิดอะไร (ลมเป่าขอบฟิล์มหรือ
      ดวงไฟจับเส้นสลิท)
    - เพลาแกนเก็บม้วนสำเร็จรูปควรมี
       เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าไร(6นิ้ว.3นิ้ว)
     -เพลาชึ้นม้วนควรมีเส็นผ่าศูนย์กลาง
        เท่าไร
     - ชนิดของแกนสินค้าสำเร็จรูปใช้
       ประเภทอะไร(แกนกระดาษ, PVC)
     - ลักษณะต้วจับแกนที่สวมเพลา
       ควรเป็นชนิดใด(แกนกระดาษใช้ตัว
       จับไม่เหมือนแกน PVC)
     - ลูกยางทับม้วนควรเป็นแบบแยก
       แต่ละม้วนหรือเป็นแบบลูกยาวลูกเดี่ยว,
     -ตัวเก็บเศษขอบข้างหลังการสลิท
       ควรเป็นแบบลมดูดหรือเป็นชุด
       มอเตอร์เก็บม้วน
     - ตัวปั็ม,ตัวจับขอบฟิล์มควรเป็นแบบ
       ปั๊มไฮไดรลิคหรือเป็นมอเตอร์ขับ
       สกรู (ball screw )
     -ชนิดของตัวสวมเพลาตัวเก็บม้วนสำเร็จ
       รูป ควรเป็นแบบเล็บเสือหรือแบบลูกปืน

   *** เครื่องจักรที่ออกแบบมาจะสามารถผลิต
สินค้าได้ดี คือเครื่องจักรที่ออกแบบ มาเพื่อ
สินค้านั้นๆ หรืออาจจะใกล้เคียงบ้างเล็กน้อย 
แต่จะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ดี ทุกชนิดเพราะ
ฉะนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือการเลือกเครื่องจักร
ที่ถูกต้องกับการผลิตสินค้า************

การบริการหลังการขาย...
มีทีม SERVICE หรือไม่มี, 
หรือ ว่ามีทีมแต่ไม่มีคุณภาพ,



เครื่องทำซอง ( bag making )



ปัญหางานผลิตซอง

  -  ซองรั่ว
  -  ซองย่น
  -  ซองแตก
  -  ซองรั่วซึม
  -  ซองรอยซีลไม่สวย
   - ซองเป็นฟองอากาศ
   - ซองแพ็คสินค้าทิ้งไว้ระยะเวลาสั้นๆ มีการรั้่วซึม
   - ซองบรรจุสินค้าแบบแห้งบบรจุไม่ลง
   - ซองผลิตออกมาแล้วซองงอ
   - ซองผลิตส่งออกไปให้ลูกค้าแพ็คเครื่อง AUTO
      ไม่ได้
   - ซองผลิตออกมาแล้วเปิดปากซองไม่ออก.
       เปิดยาก
   - ซองผลิตออกมาแล้วบรรจุสินค้าที่เป็นผง
       ไม่ลงถึงก้นซอง

ปัญหาระหว่างเดินเครื่องจักรผลิตซอง

   - เดินเครื่องแล้วม้วนส่ายด้านริม ซ้าย ขวา
      รอยซีลไม่เท่ากัน
   - เดินเครื่องแล้วการเจาะรูไม่ตรงกัน ระหว่าง
      แพ็คและระหว่างแถว
   - เดินเครื่องแล้วซีลย่นและไหม้
   - เดินเครื่องแล้วซีลติดไม่ดี ติดดีเป็นช่วงๆ
   - เดินเครื่องแล้วซีลความแน่นไม่ดี
   - เดินเครื่องแล้วระยะภาพ สั้น และ ยาวกว่า
      ตัวอย่างงาน
   - เดินเครื่องงาน ซองตั้งแล้วก้นซองไม่ตรง,
      ตั้งซองได้ไม่ตรง
   - เดินเครื่องงานซองซิป, ซิปติดไม่ดี,ซิปย่น,
      ซิปบวม
   - เดินซองออกมาแล้วรอยซีลแตกเป็นเส้น
      ตรงคล้ายๆถูกใบมีดโกนกรีด

 ลักษณะรูปแบบซองที่ใช้ในการบรรจุสินค้า

     - ซีลสามด้าน 
 (งานข้าว 5 กก.,งานขนมขนาด 5 บาท )
     - ซีลสามด้านมีซิป
 (งานสาหร่ายทะเล,งานมันฝรั่งทอดกรอบ )
     - ซีลกลาง 
(งานข้าว 2กก.งานมันฝรั่ง,งานบะหมี่)
     - ซีลสี่ด้าน
 (งานข้าว 2 กก.มีขอบแข็งและสูญญากาศ )
     - ซีลซองตั้งแบบก้นขิ้นเดียว 
(งานน้ำยาล้างจาน )
     - ซีลซองตั้งแบบก้นสองชิ้น
 (งานน้ำยาปรับผ้านุ่ม )

ลักษณะการทำรูบแบบการเจาะและตัดรูปแบบซอง

เจาะรูกลม, เจาะวีคัท, ตัดมุม ,เจาะดรายคัท,
เจาะผีเสื้อ.เจาะระบายอากาศรูเข็ม 1 มม.
ระบายอากาศที่รอยซีล

ส่วนที่สำคัญของเครื่องจักร

น้ำเย็น...อย่ามองข้ามไม่ให้ความสำคัญนะครับ 
เพราะพลาสติกใช้อุณหภูมิในการเซ็ตตัว ต้องเย็น
และการไหลหมุนเวียนดี (flow)..การที่มีไอน้ำเกาะ
ไม่ใช่หมายความว่าความเย็นเพียงพอ แต่เป็นการ
ไหลเวียนของน้ำเย็นไม่ดี การไหลเวียนดีจะไม่มี
ไอน้ำเกาะ (condent)....ประเทศไทย เป็นประเทศ
ที่อากาศร้อน ชื้น  มีความต้องการความเย็นมาก
กว่าต่างประเทศที่อากาศหนาว การใช้เพียง
 cooling tower ไม่เพียงพอ และการใช้แบบตู้ทำ
ความเย็นก็ไม่เพียงพอ เพราะต้องการปริมาณน้ำเย็น
ที่เพียงพอกับการหมุนเวียนให้อุณหภูมิ คงที่สม่ำ
เสมอกับการใช้งานแบบต่อเนื่อง 12 ชม.เป็นอย่าง

น้อยหรือตลอดระยะเวลาทั้งสัปดาห์
          ฮีตเตอร์ ต้องให้อุณหภูมิที่ร้อนได้เร็ว 
และถ่ายเทความร้อนให้กับชิ้นงาน ให้ทันกับการ
ซีลและความเร็วเครื่อง..ไม่ตั้งร้อนเกินเพราะเพื่อ
ต้องการให้ซีลติดดี แต่จะเป็นการทำให้ฟิล์มชั้น
บนกรอบแตก

ความสำพันธ์กันระหว่างน้ำเย็น ชุดระบายความ
ร้อน และ ฮีตเตอรฺ์ทำความร้อน คือจุดสำคัญของ
ความแข็งแรง ความสวยงามของรอยซีล,การเจาะ
ขาดของรูกลม.การแก้ไขปัญหางานมีดตัดไม่
ขาด,งานเป็นขุย (มีเส้นใย),ฟิล์มงอ,งานยืด-หด
 จับระยะงานไม่ได้,งานมีกลิ่นเหม็นจากการซีล

   ******** เครื่องจักรที่ออกแบบมาจะสามารถ
ผลิตสินค้าได้ดี คือเครื่องจักรที่ออกแบบ มาเพื่อ
สินค้านั้นๆ หรืออาจจะใกล้เคียงบ้างเล็กน้อย 
แต่จะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ดี ทุกชนิด
 เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือการเลือกเครื่อง
จักรที่ถูกต้องกับการผลิตสินค้า*****

การบริการหลังการขาย...
มีทีม SERVICE หรือไม่มี, หรือ 
ว่ามีทีมแต่ไม่มีคุณภาพ,ใช้เวลา
ในการบริการนานเท่าไร,หลังการ
ติดตั้งเครื่องแล้ว ส่งมอบเครื่อง
จักรแล้ว มีการติดตามคุณภาพ
เครื่องจักร,การใช้งานเครื่องจักร
ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดหรือไม่.
สามารถให้คำแนะนำลูกค้าเรื่อง
เทคนิคการเดินเครื่องจักร,มีการ
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าที่ต้อง
การผลิตหรือไม่,มีการทำโครงงาน
ร่วมกันในการพัฒนาเครื่องจ้กร
ให้สามารถรองรับงานตรงตามที่
ลูกค้าต้องการหรือไม่...R/D..



(อยู่ระหว่างปรับปรุงครับ)  ระหว่างนี้ถ้ามีคำถามสามารถสอบถามได้ครับ..