เครื่องดรายลามิเนท (Dry Laminate Machine)



Dry Laminate Machine

Dry Laminate Machine คือเครื่องโค้ดกาวลงบนผิวฟิล์มพลาสติกเพื่อประกบให้ฟิล์มพลาสติก 2 ชิ้นมาประกบติดกัน เช่น Nylon ประกบกับ LLD.PE

  1. ส่วนโค้ดกาวประกบด้วยบล็อคกาว,ความลึกของสกรีนกาว,ลูกยางกดทับบล็อค,ถาดกาว
  2. ส่วนตู้อบกาวหลังการโค้ดกาวเพื่อให้แห้ง หมาด
  3. ส่วนการรีดประกบกันระหว่างชิ้นงานที่ผ่านการโค้ดกาวและฟิล์มที่จะประกบ
  4. ส่วนการปล่อยม้วน ม้วนเข้าเครื่องส่วนหน้า เข้าส่วนโค้ดกาว
  5. ส่วนการปล่อยม้วน เข้าสว่นการรีดประกบฟิล์ม
  6. ส่วนการเก็บม้วน หลังการรีดประกบฟิล์มหลังการรีดประกบ

- ส่วนสำคัญในเครื่องจักรนี้คือ

 การทำงานของเครื่องจักร

      นำม้วนฟิล์มพลาสติกที่ไม่พิมพ์สีหรือพิมพ์สี ขึ้นเครื่องในส่วนชุดปล่อยม้วนด้านหน้าก่อนการ 

โค้ดกาว ปล่อยม้วนเข้าในส่วนการโค้ดกาว ผ่านเข้าไปในส่วนตู้อบ, ผ่านเข้าส่วนตู้อบ, ผ่านเข้าส่วนรีด

ประกบชิ้นงาน สุดท้ายเข้าเก็บม้วนงานในส่วนของการเก็บม้วนหลังประกบ


-ข้อควรระวังในการทำงาน


  1. ชนิดของกาวและอัตราส่วนในการผสมกาวต้องให้ถูกต้องตาม อัตราส่วน ของแต่ละชนิดกาวและชนิดของงานที่ต้องการ
  2. สกรีนแม่พิมพ์ต้องมีความลึก ความกว้าง ที่เหมาะสมกับความต้องการปริมาณกาวที่ต้องการโค้ดลงบนผิวฟิล์ม
  3. ถาดกาวต้องมีความลึก ความกว้าง ในปริมาตร ที่เหมาะสมให้กาวหมุนเวียนได้ดี
  4. ปั๊มกาว ต้องมีแรงดันที่เหมาะสมเพื่อกาวได้หมุนเวียน ขึ้นบนถาดกาวได้ดี
  5. อุณหภูมิในตู้อบต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อกาวจะได้แห้งหมาด และฟิล์มที่อบไม่ยืด-หด
  6. ชุดประกบหรือรีดฟิล์ม สองชิ้นให้ประกบติดกัน ลูกยางต้องมีความแข็งที่ถูกต้องตามชนิดฟิล์ม
  7. ถ้าไม่ถูกต้องจะมีปัญหา งานจะยับ,หรือกาวจะถูกรีดไม่เต็มพื้นที่ ของฟิล์ม
  8. ชุดปล่อยม้วนฟิล์มประกบ ต้องมีแรงตึงที่เหมาะสมเพื่อป้องกันฟิล์มยับ, เป็นฟองอากาศ
  9. ชุดเก็บม้วนหลังการประกบ ต้องเก็บไม่ให้แน่นเกินหรือหย่อนเกิน เมื่อม้วนออกไปเก็บและกาวแห้งจะพบปัญหาการยับและฟองอากาศหรือเป็นคลื่น
  10. การล้างทำความสะอาดบล็อคกาวและถาดกาว มีความสำคัญมาก ควรล้างให้สะอาด ***ไม่มีแปรงใดๆมีขนาดเล็กมาก ที่จะสามารถทำความสะอาดได้ลึกจนสุดปลายหลุมสกรีน***
  11. มีกาวตกค้างที่ส่วนที่ลึกสุดของปลายหลุมสกรีนควรทำความสะอาดด้วยวิธีไหน

     - ปัญหาที่พบ

   1. ขิ้นงานเป็นฟองอากาศจุดเล็กๆละเอียด
เกิดจากปริมาณกาวที่โค้ดบนผิวฟิล์ม น้อยเกินไป(กาวบาง)

   2. ชิ้นงานเป็นรอยยับริมด้านหนึ่ง เป็นแนวยาวไปยังริมอีกด้านหนึ่ง (เป็นแนวตรง)
เกิดจากการที่ต้วควบคุมความตึง-หย่อน ของฟิล์ม ของชุดปล่อยม้วนทั้งหมดทำงานไม่เหมาะสมกัน

   3. ม้วนงานหลังจากการเก็บพักให้กาวแห้งแล้วกาวแข็งติดริม
เกิดจากมีกาวส่วนเกินจากสกรีนแม่พิมพ์หรือลูกยางที่กดทับ เกินออกไปจากแผ่นฟิล์ม

   4. ม้วนงานหลังจากการเก็บพัก ม้วนไหล
เกิดจากการเก็บม้วนควบคุมความตึง-หย่อนไม่ดี และปริมาณกาวที่โค้ดติดผิวฟิล์มมากเกิน

   5. ม้วนงานหลังจากการเก็บพักแล้ว ชิ้นงานไม่แห้ง (กาวไม่แห้ง)
เกิดจาก อัตราส่วนผสมกาวไม่ถูกต้อง หรือใช้นิดกาวไม่ถูกต้องตรงกับชนิดฟิล์ม

   6. งานที่ผลิตส่งลูกค้าแล้วเกินหนึ่งเดือนงานลอก หรืองานที่ส่งไปต่างประเทศแล้วลอกที่ต่างประเทศ
เกิดจากการที่ใช้ชนิดกาวคุณสมบัติไม่ถูกต้อง กับอายุการใช้งานของสินค้า

   7. งานที่เคลือบออกมาแล้ว ครบเวลากาวแห้งแล้วนำไปสลิทม้วนสำเร็จรูปส่งสินค้าให้ลูกค้า พบว่าลูกค้าตรวจสอบว่ามีกลิ่นเหม็น

            .............................................................................................................................
            
* งานแต่ละชนิดโค้ดกาวติดผิวฟิล์มไม่เท่ากัน
 อยู่ที่ชนิดงานเช่น
 2.0 กรัม/ตารางเมตร
 2.5กรัม/ตารางเมตร
 3.0กรัม/ ตรางเมตร..
 3.5กรัม/ ตารางเมตร
 4กรัม/ ตารางเมตร.
 4.5กรัม/ตารางเมตร

* งานของแต่ละชนิดของวัตถุดิบที่นำมาเคลือบจะ
   มีความแตกต่างชนิดของกาวด้วยเหมือนกันเช่น
   เคลือบโอพีพีกับซีพีพี.จะใช้ชนิดกาวแตกต่าง
   กันกับการเคลือบพีอีทีกับอลูมิเนียม

* ความหนาของวัตถุดิบ ต้องใช้กาวให้ถูกชนิด
   เพราะค่าความเกาะติดที่แข็งแรงของกาวมี
   ความแตกต่างกัน

*การทราบว่าสินค้านั้นบรรจุสินค้าอะไร มีผล
    กับการเกาะติดและการรั่วซึมของสินค้าได้เช่น
    บรรจุพริกป่นจะใช้ชนิดกาวแตกต่างกับ
   บรรจุน้ำพริกเผา

* การโค้ดกาวไม่เหมาะสม ถ้าน้อยเกินจะทำให้การ
     เกาะติด,ความทนทาน, ไม่ดี.ถ้าโค้ดหนาเกิน
     ความจำเป็นจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้น

 * การโค้ดกาวให้ได้ปริมาณที่ต้องการขึ้นอยู่กับ
      ความลึกของแม่พิมพ์,ความถี่-ห่างของตาราง
      แม่พิมพ์,ความเร็วเครื่องจักร,ความเข้มข้น
      ของขนิดกาวที่ใช้,อัตราส่วนผสมของกาว

น้ำเย็น...อย่ามองข้ามไม่ให้ความสำคัญนะครับ
 เพราะพลาสติกใช้อุณหภูมิในการเซ็ตตัว ต้องเย็น
 และการไหลหมุนเวียนดี (flow)..

 ******** เครื่องจักรที่ออกแบบมาจะสามารถ
ผลิตสินค้าได้ดี คือเครื่องจักรที่ออกแบบ
 มาเพื่อสินค้านั้นๆ หรืออาจจะใกล้เคียงบ้าง
เล็กน้อย แต่จะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ดี
ทุกชนิด เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือการ
เลือกเครื่องจักรที่ถูกต้องกับการผลิตสินค้า
ชนิดนั้นๆได้ดีที่สุด*******

 ตัวอย่างเช่น งานดรายลามิเนทฟิล์มบาง( nylon , opp , cpp, lld.pe)  แต่ซื้อเครื่องจักรที่ใช้สำหรับที่ใช้ดรายกระดาษหรือดรายลามิเนทอลูมิเนียม ทำให้ไม่สามารถผลิตได้ดีหรือผลิตแล้วมีการสูญเสียที่สูง

การบริการหลังการขาย.มีทีม SERVICEหรือไม่มี,

( อยู่ระหว่างปรับปรุงเพิ่มเติม สาเหตุ,การแก้ไข และป้องกันครับ)



VDO เครื่องดรายลามิเนท(solvent base)ขณะทำงาน

 www.gravurecon.com