เครื่องเป่า ควรสเปคเครื่องให้ตรงกับ สิ่งที่ต้องการ
ผลิตให้ตรงกับสินค้าที่ต้องการใข้เช่น
- ต้องการผลิตแบบเป็นถุง (tube),
เป็นแผ่นฟิล์ม ( film)
- ชนิดพลาสติกที่ต้องการ pe ,pp, nylon
- ความกว้าง,ความหนา ที่ต้องการ
- อัตราส่วนการเบ่งขยายของลูกโป่ง
(blown up ratio)
ที่สำคัญที่สุดคือ มีสูตรการผลิต ที่ตรงกับความ
ต้องการของสินค้านั้นๆ
- ต้องการความเหนียวเป็นพิเศษ ในการบรรจุสินค้า
ที่ต้องการรับแรงกระแทกสูง
- ต้องการความลื่น สินค้าที่ใช้เครื่องauto packing
ความเร็วสูง
- ต้องการความฝืด สินค้าที่ใช้การแพ็คแบบลม
ดูดซอง (vaccum)
- ต้องการความใส ต้องการให้เห็นสินค้าภายใน
ชัดเจน
- ต้องการความขุ่น ไม่ต้องการให้เห็นสินค้า
ภายในมาก
- ต้องการการหดตัวมาก การแพ็คสินค้าที่ แพ็ค
เป็นชุด ให้รัดแน่น
- ต้องการการหดตัวน้อย การแพ็คแบบเดี่ยวไม่
ต้องการรัดแน่น
- ต้องการความแข็ง การแพ็คที่ต้องการป้องก้น
สินค้าภายในแตก หัก เสียหาย
- ต้องการความอ่อนนิ่ม ต้องการให้รู้สึกถึง
สินค้าภายในมีความนิ่ม
ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในการผลิตงานเป่า
- ฟิล์มเป่าออกมาแล้วทิ้งไว้นำมาสลิทแล้วตก
ท้องช้าง(ฟิล์มหย่อน)
- ฟิล์มเป่าออกมาเช็คค่าความลื่นแล้วอยู่ใน
สเปค แต่ทิ้งไว้แล้วนำมาสลิทค่าความลื่น
มากกว่าสเปค
- ฟิล์มเป่าออกมาเป็นเจลและตามด
- ฟิล์มเป่าแล้วความหนา- บาง ไม่ตรงสเปค
และปรับไม่ได้
- ฟิล์มเป่าออกมาแล้วมีสีเหลืองอ่อนๆ
- ฟิล์มเป่าออกมาแล้วม้วนไม่เรียบ
- ฟิล์มเป่าออกมาเช็คค่าโคโรน่าได้ตามสเปค
แต่ทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่งค่าโคโรน่าลดลง
ต่ำกว่าสเปค
- ฟิลฺ์มเป่าออกมาค่าโคโรน่าได้ตามสเปค
แต่นำไปพิมพ์หรือดรายลามิเนทการเกาะติดไม่ดี
- ฟิล์มที่เป่าออกมาแล้วยับหรือระหว่างเป่า
เป็นริ้วคลื่น
การเลือกเครื่องจักรที่เหมาะสม มีสูตรการผลิต
ให้เหมาะสมกับชนิดสินค้า มีความสำคัญมากเพราะ
ถ้าไม่มีความพร้อมข้อมูลวิเคราะห์ก่อน การซื้อ
เครื่องจักรที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ จะเป็นการ
ลงทุนมูลค่าที่สูงแต่ไม่สามารถใช้งานได้ดี
และอาจจะซื้อเครื่องจักรแพงเกินความจำเป็น
อาจจะใช้เพียงเครื่องจักรขนาด 1 สกรู ก็เพียงพอ
หรือ อาจต้องใช้เครื่องจักรขนาด 3 สกรู, 5 สกรู
ส่วนที่ควรให้ความสำคัญของเครื่องจักร
- หัวดาย ขนาดความกว้างของหัวดาย
( มีผลกับ blow up ratio )
- ความกว้างของปากดาย เหมาะสมกับขนาด
ห้วดายและสกรูหรือไม่ (มีผลกับความหนา-บาง)
- จานลม มีการกระจายแรงลมและแรงลมพอ
หรือไม่ (มีผลกับความหนา-บาง,การขึ้นลูกโป่ง)
- อุณหภูมิน้ำเย็น มีอัตราการไหล เพียงพอหรือไม่
(การเซตตัวของฟิล์ม,การบล็อคกิ้ง,ความลื่น-ฝืด)
- อุณหภูมิ มีอุณหภูมิเย็นเพียงพอหรือไม่
(การเซตตัวของฟิล์ม,การบล็อคกิ้ง,ความลื่น-ฝืด)
- ชนิดของสกรูตรงกับชนิดเม็ดพลาสติกหรือไม่
(การหลอมเหลว,ความเรียบ,การเป็นตามด-เจล)
- ขนาดความถึ่ของตะแกรง ( มีผลกับเจล,
ตามด รอยคลื่น)
-ชุดโคโรน่าทรีทในการระเบิดผิวฟิล์มให้เป็นรูเพื่อให้
สีเกาะติดดี ค่าโคโรน่าควรเป็นเท่าไร(38 DYE ตามที่
ความต้องการคุณสมบ้ติของสี)
- ค่าโคโรน่าทรีทได้ตรงตามสเปคแต่ทำไมค่าการเกาะ
ติดของสียังไม่ดี สีหลุดลอกง่าย
***ค่าที่ยิงผิวฟิล์มจะวัดได้แต่จำนวนรูของผิวฟิล์มมี
ความหนาแน่นของรูที่ผิวฟิล์มต่อตารางนิ้วมีความ
หนาแน่นไม่เพียงพอ แท่งบาร์ที่ยิงไฟฟ้าลงบนผิว
ฟิล์มมีพื้นที่หน้าตัดน้อยหรือระบบเก่าจะเป็นแท่ง
เหล็กปลายแหลมเส้นเล็กเรียงตัวกันอยู่เพียงหนึ่ง
แถว ค่าโคโร่น่าตรวจเช็คได้..แต่ความหนาแน่น
ของจุดที่เป็นรูพรุนจะไม่มีความหนาแน่น แบบใหม่
จะเป็นแบบเซรามิคหรือแท่งอลูมิเนียมจะมีพื้นที่
มากกว่าและมีความหนาแน่นของรูพรุนมากกว่า
เพราะปล่อยทั้งเต็มพื้นผิวโดยไม่มีเหล็กแหลมที่
ทำให้เป็นจุดๆ การเกาะติดของสีจะติดแน่นมากกว่า
น้ำเย็น...อย่ามองข้ามไม่ให้ความสำคัญนะครับ
ได้ดี คือเครื่องจักรที่ออกแบบ มาเพื่อสินค้านั้นๆ
หรืออาจจะใกล้เคียงบ้างเล็กน้อย แต่จะไม่สามารถ
ผลิตสินค้าได้ดี ทุกชนิด เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่
ควรทำคือการเลือกเครื่องจักรให้ถูกต้องกับการ
ผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ**
การบริการหลังการขาย...มีทีม SERVICE
หรือไม่มี, หรือ ว่ามีทีมแต่ไม่มีคุณภาพ,
ใช้เวลาในการบริการนานเท่าไร,หลังการ
ติดตั้งเครื่องแล้ว ส่งมอบเครื่องจักรแล้ว
มีการติดตามคุณภาพเครื่องจักรการ
ใช้งานเครื่องจักรให้ได้ประสิทธิภาพ
สูงสุดหรือไม่.สามารถให้คำแนะนำลูกค้า
เรื่องเทคนิคการเดินเครื่องจักร,มีการให้
คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการผลิต
หรือไม่,มีการทำโครงงานร่วมกันในการ
พัฒนาเครื่องจ้กรให้สามารถรองรับงาน
ได้ดีที่สุด ต้องทำ R/D ร่วมกัน เพราะลูกค้า
จะมีการปรับปรุง สินค้าอย่างต่อเนื่อง
มีสูตรการผลิตที่เมาะสมกับเครื่องจักรและ
สินค้า